ชีวประวัติ ของ แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์

ช่วงวัยเยาว์

แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ (Erwin Schrödinger) มีชื่อเต็มว่า Erwin Rudolf Josef Alexander Schrödinger เป็นนักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย เกิดที่ Erdberg ในกรุงเวียนนา (Vienna) ประเทศออสเตรีย (Austria) เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ.1887 เป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของ Rudolf Schrödinger และ Georgine Emilia Brenda ซึ่งเป็นลูกสาวของ Alexander Bauer ศาสตราจารย์แห่งภาควิชาเคมีของ the Technical College of Vienna  [2]

ความสนใจอันหลากหลายของชเรอดิงเงอร์ นั้นเริ่มต้นมาจากการศึกษาในวัยเด็กที่ Akademisches Gymnasium  เขาไม่เพียงแต่สนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ยังให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับ ศาสนาตะวันออก ไวยากรณ์โบราณและความสวยงามของบทประพันธ์ของเยอรมัน อีกทั้งเรียนภาษาอังกฤษกับยายของเขาซึ่งเป็นคนอังกฤษอีกด้วย และที่สำคัญคือเขาเป็นคนไม่ชอบการเรียนโดยใช้การจดจำข้อมูลและการเรียนจากหนังสือ [2][3]

ในระหว่างปี ค.ศ.1906 - 1910 ชเรอดิงเงอร์ เข้าศึกษาที่เวียนนา กับ Franz Serafin Exner (นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย : ค.ศ.1849 - 1926) และ Friedrich Hasenöhrl (นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรีย : ค.ศ.1874 - 1915) และฝึกงานกับ Karl Wilhelm Friedrich "Fritz" Kohlrausch เพื่อนของเขาด้วย จนกระทั่งในปี ค.ศ.1911 ชเรอดิงเงอร์กลายมาเป็นผู้ช่วยของ Franz Exner ใน University of Vienna ประเทศออสเตรีย

ในช่วงวัยรุ่น ชเรอดิงเงอร์มีความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับ Arthur Schopenhauer เขาอ่านงานของ Schopenhauer มาอย่างยาวนานจนทำให้มีสนใจเกี่ยวกับเรื่อง ทฤษฎีสี (colour theory) และปรัชญา มาโดยตลอด [2][3]

ช่วงวัยกลางคน [2][3]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914-1918) เขาเข้าร่วมในการสงคราม โดยเป็นนายทหารในป้อมปราการปืนใหญ่แห่งออสเตรีย  หลังจากนั้น ปี ค.ศ.1920 ชเรอดิงเงอร์ได้เป็นผู้ช่วยของ Max Wien (นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน : ค.ศ.1866 - 1938) ที่ University of Jena ต่อมาในเดือนกันยายน 1920 จึงได้รับตำแหน่งอาจารย์พิเศษที่ Stuttgart และศาสตราจารย์ที่ Breslau (ปัจจุบัน คือ Wroclawในโปแลนด์) ในปีถัดมา และย้ายไปยัง University of Zurich ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี ค.ศ.1922

ชเรอดิงเงอร์ ตีพิมพ์ผลงานที่มีชื่อว่า "Quantisation as an Eigenvalue Problem" ในปี ค.ศ.1926 ซึ่งถือเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของเขา โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับกลศาสตร์คลื่น (Wave mechanics) ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันดีคือ สมการชเรอดิงเงอร์ (Schrödinger equation) ซึ่งมีทั้งสมการชเรอดิงเงอร์ใน 1 มิติ และสมการชเรอดิงเงอร์ใน 3 มิติ

รูปปั้นครึ่งตัวของชเรอดิงเงอร์ ในลานของอาคารหลัก มหาวิทยาลัยเวียนนา ประเทศออสเตรีย

ปี ค.ศ.1927 เข้าร่วมงานกับมักซ์ พลังค์ (Max Planck) ที่ Friedrich Wilhelm University ในกรุงเบอร์ลิน (Berlin) ประเทศเยอรมัน ซึ่งขณะนั้นกลายเป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ.1933 เขาตัดสินใจย้ายออกจากเยอรมัน เนื่องจากมีความคิดต่อต้านในลัทธินาซี (Nazi) โดยเขาได้ย้ายไปเป็นครูที่ Magdalen College ใน University of Oxford ประเทศอังกฤษ ซึ่งต่อจากนั้นไม่นาน เขาก็ได้รับรางวัลโนเบลร่วมกับพอล ดิแรก (Paul Dirac) สำหรับผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอมและกลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาสมการคลื่นของกลศาสตร์ควอนตัม หรือสมการคลื่นของชเรอดิงเงอร์ (Schrödinger equation) นั่นเอง

ที่มาของความคิดที่นำแอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ สู่การนำเสนอสมการคลื่นของเขา เริ่มต้นตั้งแต่จุดกำเนิดของทฤษฎีควอนตัม (quantum theory) โดยบิดาแห่งฟิสิกส์ควอนตัม คือ มักซ์ พลังค์ (Max Planck) เมื่อปี ค.ศ.1900 ตามด้วยความคิดในวงการฟิสิกส์ควอนตัมต่อมา เรื่องความเป็นคลื่นและอนุภาคของทุกสิ่งที่มักจะเข้าใจกันว่า เป็นคลื่นหรือเป็นอนุภาคเพียงอย่างเดียว และสำคัญที่สุด คือการนำเสนอความคิดเรื่อง "คลื่นอนุภาค" (Particle Wave) โดยนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ หลุยส์ เดอ เบรย (Louis De Broglie) เมื่อปี ค.ศ.1923

ในปี ค.ศ.1934 ชเรอดิงเงอร์ ได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่ Princeton University ในนิวเจอร์ซี (New Jersey) ประเทศสหรัฐอเมริกา และถูกเสนอให้รับตำแหน่งประจำที่นี่ แต่เขาก็ปฏิเสธ ต่อมาในปี ค.ศ.1936 เขาจึงตกลงรับตำแหน่งที่ University of Graz ในประเทศออสเตรีย และตำแหน่งในภาควิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยอัลลาฮาบาด (Allahabad University) ในอินเดีย จนกระทั่งในปี 1935 หลังจากได้ติดต่อคบหาและเป็นเพื่อนกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เขาจึงได้เสนอแนวคิดการทดลองในจินตนาการ เรื่อง แมวของชเรอดิงเงอร์

ช่วงบั้นปลายชีวิต [2][3]

ปี ค.ศ.1938 หลังจาก อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ครอบครองออสเตรีย ชเรอดิงเงอร์ ต้องประสบปัญหาเนื่องจากการที่เขามีความคิดต่อต้านพวกนาซี และออกมาจากเยอรมันในปี 1933 ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตรนัก แม้ว่าเขาจะปฏิเสธว่าไม่ได้ต่อต้านนาซี แต่ความไม่ไว้วางใจทางด้านการเมือง ทำให้เขาต้องออกจากงาน และถูกคำสั่งห้ามออกนอกประเทศ แต่เขาและภรรยาก็หนีไปอิตาลีได้สำเร็จ และได้ไปทำงานที่ Oxford และย้ายไปที่ University of Ghent

ในปี ค.ศ.1940 เขาได้รับเชิญให้เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Institute for Advanced Studies ในกรุงดับลิน (Dublin) ประเทศไอร์แลนด์ (Ireland) และกลายเป็นผู้อำนวยการของ School for Theoretical Physics และอยู่ในตำแหน่งถึง 17 ปี ตีพิมพ์ผลงานวิจัยมากกว่า 50 ชิ้น ในหลากหลายหัวข้อ รวมถึงความพยายามในการศึกษาทฤษฎีสนามรวม หรือ unified field theory (ทฤษฎีของไอน์สไตน์ ว่าด้วยการรวมทฤษฏีแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetism) และทฤษฏีแรงโน้มถ่วง (Gravitation) เข้าด้วยกัน)

ปี ค.ศ.1944 เขาเขียนหนังสือที่มีชื่อว่า "What is Life?" ซึ่งหนังสือดังกล่าวกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับเจมส์ วัตสัน (James D. Watson) ในการค้นคว้าวิจัยเรื่องยีน (Gene) และนำไปสู่การค้นพบโครงสร้างของ DNA ในที่สุด

เขาอยู่ที่กรุงดับลิน จนกระทั่งเกษียณอายุในปี ค.ศ.1955 หลังจากนั้น 1 ปี เขากลับไปยังเวียนนา ในช่วงเวลานี้ชเรอดิงเงอร์ได้หันกลับมาสนใจในเรื่องพื้นฐานของฟิสิกส์อะตอม โดยเขาไม่ค่อยเห็นด้วยกับนิยามทางกลศาสตร์ควอนตัมเกี่ยวกับคลื่นและอนุภาค และพยายามที่จะตั้งทฤษฎีในแง่ของคลื่นเท่านั้น สิ่งนี้ทำให้เขาเกิดการขัดแย้งกันอย่างมากกับนักฟิสิกส์ชั้นนำอื่น ๆ [2][3]

ชเรอดิงเงอร์ได้เสียชีวิตลงในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ.1961 ขณะมีอายุ 73 ปี ด้วยโรควัณโรค และฝังศพเขาไว้ที่เมือง Alpbach ประเทศออสเตรีย

ใกล้เคียง

แอร์วีน ชเรอดิงเงอร์ แอร์วีน วัลท์เนอร์ แอร์วิน รอมเมิล แอร์วิน ฟอน วิทซ์เลเบิน แอร์ลิงกัส แอร์อินเดีย แอร์อินเดีย เที่ยวบินที่ 101 แอร์อินเดีย เที่ยวบิน 182 แอร์วีน แอนกาแป็ต แอร์อินเดียเอกซ์เพรส

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ http://www.zbp.univie.ac.at/schrodinger/bio/bio1.h... http://www.zbp.univie.ac.at/schrodinger/ebio/bio1.... http://www.britannica.com/eb/article-9066219/Erwin... http://www.obromsook.com/schrodinger's%20cat.htm http://uk.youtube.com/watch?v=8GZdZUouzBY http://www.photonics.cusat.edu/article2.html http://www-personal.umich.edu/~jbourj/money1.htm http://alsos.wlu.edu/qsearch.aspx?browse=people/Sc... http://www.hinduwisdom.info/quotes21_40.htm#Q31 http://www.disf.org/CosaDevoSapere/Schroedinger.as...